ทั้งการซ่อมแซม เพิ่มเติม ตกแต่ง ไม่หยุดหย่อน ชวนให้ท้อใจ แต่ก็ต้องกัดฟันทำให้สำเร็จ
เพราะเป็นบ้านแห่งความหลัง ความทรงจำของครอบครัว เป็นบ้านที่คุณตาและคุณยายสร้างมากับมือ
บ้านทรงจำหลังนี้สร้างเสร็จตั้งแต่ ปี ค.ศ.1930 ถ้านับเป็นอายุคน ก็อยู่ราวๆ 82 ปี
บ้านทรงจำหลังนี้ เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ใต้ถุนสูง สร้างจากไม้สักทั้งหลัง มีเสามากกว่า 20 ต้น
ซึ่งหากลองดูๆแล้วไม้แต่ละท่อนอาจดูไม่สวยนัก เพราะเป็นไม้สักที่ถูกฝรั่งค้าไม้สมัยนั้นคัดทิ้ง
เพราะไม่ได้ขนาด บางท่อนเล็กไป เบี้ยวไป คดบ้าง เอียงบ้าง แต่ก็เป็นบ้านที่อบอุ่น
ไหนๆก็กล่าวถึงคุณตาแล้ว ก็ขอเพิ่มเติมข้อมูลของคุณตาเล็กน้อย
คุณตานั้นเป็นชาวไทยใหญ่มีเชื้อเจ้านายของรัฐฉานหรือ “ชานสเตท” ที่อยู่ในพม่า
หลังจากที่จบในระดับมัธยมศึกษาที่ เมืองดาร์จีลิง ในอินเดีย
จึงไปศึกษาต่อในด้านป่าไม้ที่ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง(Rangoon University)หลังจากนั้นได้โอกาสไปศึกษาต่อที่อังกฤษอีก 2 ปี แล้วได้มีโอกาสมาทำงานที่ประเทศไทย
และตั้งรกรากอยู่ที่เชียงใหม่ โดยได้ทำงานในบริษัททำไม้ชื่อดังต่างๆ ของอังกฤษ
ในAsia ได้แก่ บอมเบย์เบอร์ม่าร์, อีสต์เอเชียติก, หลุยส์ ที เลียวโนแวนส์
ซึ่งคุณตาเป็นผู้จัดการชาวเอเชียคนเดียวนอกจากนั้นเป็นฝรั่งหมดเลยเมื่อได้ไม้แล้ว คุณตาก็ให้คนงาน ชาวขมุ เอาขวานถากเสาไม้เป็นเหลี่ยม ไม่ใช้เลื่อยเลย
แล้วล่องซุงมาตามลำแม่น้ำปิง เมื่อถึงท่าก็จะใช้โซ่ร้อยกับซุงแล้วให้ช้างลากมายังพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน
เนื่องจากคุณตา เป็นคนที่รักไม้มาก การสร้างบ้านหลังนี้จะหลีกเลี่ยงการตัดไม้โดยไม่จำเป็น
ซึ่งสังเกตได้จากพื้นกระดานที่ปลายไม่เท่ากัน ไม่มีการตัดให้พอดีกับขนาดของตัวห้อง
ปล่อยไว้ตามความยาวของไม้ บางห้องเสาไม้ก็ใช้เสาไม้ที่โก่งหรือโค้งไม่ตรง
บางต้นเอียงจนเกือบเป็นเส้นทแยงมุม บางต้นมีรอยเจาะเป็นช่องเพื่อใช้ร้อยโซ่ให้ช้างลาก
คุณตาก็จะปล่อยทิ้งไว้แบบนั้น นอกจากตัวบ้านแล้ว เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆในบ้าน
ซึ่งสังเกตได้จากพื้นกระดานที่ปลายไม่เท่ากัน ไม่มีการตัดให้พอดีกับขนาดของตัวห้อง
ปล่อยไว้ตามความยาวของไม้ บางห้องเสาไม้ก็ใช้เสาไม้ที่โก่งหรือโค้งไม่ตรง
บางต้นเอียงจนเกือบเป็นเส้นทแยงมุม บางต้นมีรอยเจาะเป็นช่องเพื่อใช้ร้อยโซ่ให้ช้างลาก
คุณตาก็จะปล่อยทิ้งไว้แบบนั้น นอกจากตัวบ้านแล้ว เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆในบ้าน
คุณตาก็จะทำเอง(หมายถึงให้ลูกน้องที่เป็นช่างไม้เป็นลูกมือช่วยกันทำ) อย่างเช่น โต๊ะทานข้าวชุดเล็ก
สามารถนั่งทานได้สี่ที่ แต่หากมีแขกมาทานข้าวด้วย คุณตาจะมีกระดานไม้สักขนาดใหญ่
ครอบโต๊ะกินข้าวอีกที ทำให้สามารถนั่งร่วมกันทานข้าวได้ถึงแปดคน
งานไม้ของคุณตาแม้ว่าจะมีฝีมือหยาบๆ ไม่สวยแบบที่เขาทำขายกัน
แต่ก็มีความหมายกับคนในครอบครัวมากและยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
พูดถึงบ้านทรงจำ เมื่อกลายเป็นโฮมสเตย์แล้ว
อยากให้เป็นบ้านพักที่อบอุ่น อยู่แบบคนเชียงใหม่
คือ ตื่นเช้าเดินไปจ่ายตลาด หาอะไรกลับมาทาน
หรือจะซื้อผักและเนื้อสัตว์มาทำอาหารทานที่บ้านก็ได้
หากเป็นวันพระก็สามารถนั่งสามล้อถีบไปทำบุญ
หรือนึกอยากนั่งสามล้อถีบไปโน่นมานี่ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้ตามชอบ
หรือไม่อยากไปเที่ยวไหนก็สามารถหามุมสงบ สบายๆนั่งอ่านหนังสือเพลินๆก็ได้
คืออยากให้รู้สึกว่าไปเที่ยวแล้วกลับมาพักก็อบอุ่น
หากไม่อยากไปไหนก็สามารถอยู่ที่บ้านทรงจำได้ไม่อึดอัดเหมือนว่าเป็นบ้านของตนเอง
" ท้ายนี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากความอยากที่จะต้อนรับทุกท่านที่จะมาเยือนเชียงใหม่
และปรารถนาที่จะพักในย่านวัฒนธรรมเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ร่วมใช้ชีวิตในแบบคนเชียงใหม่
และร่วมเป็นความทรงจำที่ดีต่อกันและกัน ขอบคุณและยินดีต้อนรับทุกท่าน.......บ้านทรงจำโฮมสเตย์"
สามารถนั่งทานได้สี่ที่ แต่หากมีแขกมาทานข้าวด้วย คุณตาจะมีกระดานไม้สักขนาดใหญ่
ครอบโต๊ะกินข้าวอีกที ทำให้สามารถนั่งร่วมกันทานข้าวได้ถึงแปดคน
งานไม้ของคุณตาแม้ว่าจะมีฝีมือหยาบๆ ไม่สวยแบบที่เขาทำขายกัน
แต่ก็มีความหมายกับคนในครอบครัวมากและยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
พูดถึงบ้านทรงจำ เมื่อกลายเป็นโฮมสเตย์แล้ว
อยากให้เป็นบ้านพักที่อบอุ่น อยู่แบบคนเชียงใหม่
คือ ตื่นเช้าเดินไปจ่ายตลาด หาอะไรกลับมาทาน
หรือจะซื้อผักและเนื้อสัตว์มาทำอาหารทานที่บ้านก็ได้
หากเป็นวันพระก็สามารถนั่งสามล้อถีบไปทำบุญ
หรือนึกอยากนั่งสามล้อถีบไปโน่นมานี่ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้ตามชอบ
หรือไม่อยากไปเที่ยวไหนก็สามารถหามุมสงบ สบายๆนั่งอ่านหนังสือเพลินๆก็ได้
คืออยากให้รู้สึกว่าไปเที่ยวแล้วกลับมาพักก็อบอุ่น
หากไม่อยากไปไหนก็สามารถอยู่ที่บ้านทรงจำได้ไม่อึดอัดเหมือนว่าเป็นบ้านของตนเอง
" ท้ายนี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากความอยากที่จะต้อนรับทุกท่านที่จะมาเยือนเชียงใหม่
และปรารถนาที่จะพักในย่านวัฒนธรรมเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ร่วมใช้ชีวิตในแบบคนเชียงใหม่
และร่วมเป็นความทรงจำที่ดีต่อกันและกัน ขอบคุณและยินดีต้อนรับทุกท่าน.......บ้านทรงจำโฮมสเตย์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น