วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าวัดเกต : สะพานจันทร์สม



แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำที่ผ่านกลางเมืองเชียงใหม่ การข้ามแม่น้ำแม่ปิงด้วยสะพานหลักๆ คือ สะพานนวรัฐ, สะพานนครพิงค์, สะพานเม็งราย, สะพานรัตนโกสินทร์ ซึ่งสะพานเหล่านี้รถแล่นข้ามได้ ส่วนอีกสะพานหนึ่งเป็นสะพานสำหรับเดินข้ามที่สำคัญต่อชีวิตจิตใจ ของผู้คนของเมืองเชียงใหม่ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกกันว่า “สะพานจันทร์สม”
                สะพานจันทร์สม เดิมคงไม่มีชื่อ จึงเรียกกันว่า “ขัวกุลา” หรือ “ขัวเก่า” มีประวัติว่าสร้างโดยนายชีค (Cheek) เป็นมิชชันนารี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๑ สมัยพระเจ้าอินวิชชยานนท์ ต่อมาได้พังลงเพราะกระแสน้ำ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ (คำบรรยายใต้ภาพขัวเก่าจากหนังสือ ประชุมภาพประวัติศาสตร์ทหารและตำรวจ, สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๕)
                คุณป้าซิวเฮียง   โจลานันท์ อายุ ๘๔ ปี เกิด พ.ศ.๒๔๕๙ บ้านอยู่ร้านวิศาลบรรณาคารบอกว่า “ทันเห็นขัวเก่าตั้งแต่เด็กแล้ว สะพานนี้เป็นสะพานไม้สักขนาดใหญ่ กว้างพอๆกับสะพานนวรัฐขณะนั้น เสาก็เป็นไม้สัก ขนาดใหญ่เช่นกัน ในหน้าน้ำหลากจะมีไม้ซุงล่องมา ไม้ซุงขนาดสั้นสามารถลอด ผ่านเสาสะพานไปได้ แต่ท่อนยาวจะติดอยู่ติดต่อเนื่องกันไปจนถึงเจดีย์ขาว เด็กๆ จะสนุกกับการขี่ไม้ซุงล่องไปจนถึงท่าน้ำโรงพักแม่ปิง แล้วก็ขึ้นฝั่งวิ่งกลับมากระโดดจากสะพานขี่ซุงอีกเป็นที่สนุกสนาน ตอนเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย สมัยแรกที่ตั้งอยู่บริเวณคริสตจักรตีนสะพานนวรัฐก็ขี่จักรยานข้ามสะพานนี้ไปโรงเรียน เมื่อยังไม่มีการสร้างถนนเลียบน้ำปิงที่ตลาดต้นลำไย ปลายสะพานจะยาวมาเกือบถึงร้านวิศาลบรรณาคาร เนื่องจากเมื่อก่อนแม่น้ำปิงกว้างมาก เกือบถึงบ้าน ด้านหลังบ้านจะมีท่าน้ำ ต่อมาเมื่อสร้างถนนเลียบน้ำปิง จึงต้องตัดสะพานออกส่วนหนึ่งดังที่เห็นทุกวันนี้
                ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๓ มีการรื้อสะพานเก่า เนื่องจากไม้เก่าผุ คาดว่าสมัยหลวงชมา เป็นหัวหน้าสุขาภิบาลเชียงใหม่ ส่วนรองหัวหน้า คือ ขุนโปไล สมัยนั้นยังไม่มีเทศบาล บริเวณที่เป็นเทศบาลในปัจจุบัน ในอดีตเป็นอาคารไม้หลังใหญ่เป็นที่ทำการของเทศาภิบาล คือ พระองค์เจ้าบวรเดช ต่อมาเมื่อหมดยุคเทศาภิบาล บ้านหลังนี้ก็ร้างและรื้อในที่สุด กลายให้เป็นที่รกร้าง เรียกกันว่า สวนห่าง คือ เป็นสวนเป็นป่าที่ร้าง ไม่มีคนอยู่ ถัดมาทางด้านใต้ คือ คุ้มที่เจ้าดารารัศมีประทับอยู่ปัจจุบัน คือ กงสุลอเมริกัน ถัดมาคือ คุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐในตลาด สมัยอายุ ๘ ขวบ ๙ ขวบ (พ.ศ.๒๔๖๔) เคยวิ่งเข้าออกคุ้มนวรัฐเป็นประจำ ดูการซ้อมละครในเวลากลางคืน กลางวันก็มีการซ้อมฟ้อน เพื่อนรุ่นเดียวกันที่เป็นนักฟ้อน มี คุณนวลฉวี เสนาคำ, คุณบ๊วย หรือสัมพันธ์ โชตนา ภรรยาของคุณทิม  โชตนา
 
                เมื่อรื้อสะพาน “ขัวเก่า” แล้ว ทำให้ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำปิงลำบากมากในการสัญจรติดต่อซื้อขาย และแวะเยี่ยมเยียนกัน สมัยนั้นยังไม่มีสะพานนครพิงค์ การเดินไปข้ามสะพานนวรัฐก็ถือว่าไกล ทางเทศบาลเชียงใหม่จึงมีการสร้างเป็นสะพานชั่วคราว สร้างด้วยไม้ไผ่ทั้งที่เป็นเสา เป็นพื้นสะพานและเป็นคอกสะพานสองด้าน เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า ขัวแตะ หมายถึงนำไม้ไผ่มาสานเข้าด้วยกัน สะพานขัวแตะที่ทำด้วยไม้ไผ่นี้ จะใช้การได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ในหน้าฝนที่น้ำหลากจากทางเหนือ น้ำจะแรงและพ่อค้าไม้จะล่องซุงมาตามแม่น้ำปิง ซุงขนาดใหญ่ แต่ละท่อนจะปะทะเสาสะพานจนพัง ใช้การไม่ได้ ในหน้าฝนนี้ ชาวบ้านจึงต้องใช้การเดินทางโดยเรือข้ามฟากแทน เป็นเรือของลุงหนาน บ้านอยู่ใกล้วัดเกตุฯนั้นเอง ค่าโดยสารครั้งละ ๒ สลึง เรือมีอยู่ ๔ ลำ คนถ่อ ๑ คน บังคับด้านท้าย ๑ คน หากน้ำไหลเชี่ยวต้องใช้คนบังคับท้ายถึง ๒คน (นายห้างจรัญ ชวาลา, สัมภาษณ์)


                ต่อมามีผู้บริจาคเงินให้เทศบาลเชียงใหม่ สร้างสะพานคอนกรีตถาวรแทนสะพานขัวแตะ ผู้บริจาค คือ คุณโมตีราม   โกราน่า ชาวอินเดียที่ประกอบอาชีพค้าขายผ้าในเชียงใหม่ เรียกกันว่า “นายห้างโมตี” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นายมนตรี   โกศลาภิรมย์ (เสียชีวิตแล้ว) เจ้าของกิจการร้านขายผ้า เชียงใหม่สโตร์ ซึ่งเป็นร้านขายผ้าที่ใหญ่และมีชื่อในสมัยก่อน นายมนตรีฯ ได้ชื่อว่าขยันหมั่นเพียรมาก เมื่ออพยพมาอยู่เชียงใหม่ เริ่มนำผ้าสำหรับตัดเสื้อเดินเร่ขาย ตามบ้านร้านตลาด ต่อมาจึงขี่จักรยานตระเวนขายตามหมู่บ้านอำเภอรอบนอก จนมีกำไรมากขึ้น จึงมาเช่าห้องแถวขายผ้าในตลาดวโรรส เมื่อทำกำไรมากขึ้น ย้ายไปเช่าห้องแถวของเจ้าแก้วนวรัฐ ห้องแถวดังกล่าวอยู่แถวบริเวณร้านเชียงใหม่ใจดี
            ถนนช้างม่อยในปัจจุบัน สมัยก่อนเป็นห้องแถวไม้อยู่ด้านหน้าของคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ ต่อมาเมื่อมีการขายคุ้มให้เถ้าแก่โอ้ว ห้องแถวแถวนั้นถูกรื้อสร้างตึกแถว นายมนตรีฯจึงย้ายมาซื้อห้องแถวอยู่จุดตรงร้านทองตั๊กเซ่งล้งในปัจจุบัน จนปี พ.ศ.๒๕๑๑ เกิดไฟไหม้ใหญ่ จึงย้ายไปอยู่ที่บ้าน ช่วงตระเวนนำผ้าบรรทุกท้ายรถจักรยานขายต่างอำเภอเรื่อยไปนี้เอง ช่วงที่ไปขายที่บ้านแม่ก๊ะ อำเภอสันกำแพง ซึ่งหมู่บ้านนี้มีชื่อเสียงในการทอผ้าในอดีตนายห้างโมตีได้พบรักกับสาวแม่ก๊ะ นามว่า คุณจันทร์สม และได้แต่งงานกันในที่สุด (คุณซิวเฮียง   โจลานันท์, สัมภาษณ์)
                เหตุผลที่ร้านผ้าเชียงใหม่สโตร์ของคุณมนตรี ขายทำกำไรได้มาก จนว่ากันว่าฐานะร่ำรวยที่สุดสำหรับชาวอินเดียในเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากคุณมนตรีฯ จะได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากคุณมนตรีฯ ชาวเขาส่วนใหญ่ที่ลงจากดอยมักเป็นลูกค้าของคุณมนตรีฯ คุณมนตรีฯเอาใจใส่ถึงกับจัดที่พักและอาหารสำหรับชาวเขา ที่เป็นลูกค้าที่ห้องแถวของตัวเองที่ถนนท้ายวังที่เป็นคิวรถเวียงกาหลงทุกวันนี้ บ้านแห่งนี้เรียกกันในหมู่ชาวตลาดว่า “บ้านสโตร์” เป็นที่ชื่นชอบของชาวเขามาก หากถามชาวเขาว่าซื้อผ้าที่ไหน คำตอบ คือ “สโตร์” รู้กันว่า คือ ร้านเชียงใหม่สโตร์ของคุณมนตรีฯ นอกจากนี้คุณมนตรีฯ ยังมีความสามารถในการเลือกผ้าที่มีคุณภาพและนำจำหน่ายให้เจ้านายฝ่ายเหนือของเชียงใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อถือและเป็นลูกค้าของคุณมนตรีฯเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย (คุณจรัญ ชวาลา, สัมภาษณ์)
                ในยุคนั้นคุณมนตรีฯ จึงได้ชื่อว่าร่ำรวยที่สุดในหมู่ชาวไทยอินเดียของเชียงใหม่ แต่ก็ได้ชื่อว่าทำตัวสมถะที่สุดเช่นกัน แต่งกายธรรมดาไม่หรูหราฟุ่มเฟือย ไปไหนต่อไหนก็พาหนะรถจักรยานมาตลอด แม้ขณะร่ำรวยแล้วก็ทำตัวธรรมดาเช่นเดิม ไม่เคยใช้รถยนต์เหมือนคนอื่นๆ
                “สะพานจันทร์สม” มีการก่อสร้างแทน “ขัวแตะ” ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๗ หลังจากนางจัทร์สม ภรรยาของคุณมนตรีฯ เสียชีวิตแล้วไม่นาน (เสียชีวิตวันที่ ๙ พ.ค.๒๕๐๗) คุณมนตรีฯซึ่งเคยใช้สะพานข้ามแม่น้ำปิงมาตลอดและเห็นความลำบากของชาวบ้านที่เดือดร้อนในหน้าน้ำหลาก และต้องเสียเงินข้ามเรือ อีกทั้งต้องการทำบุญให้นางจันทร์สม จึงบริจาคเงินรวม ๒ แสนบาท ให้ทางเทศบาลเชียงใหม่ เพื่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงแทนสะพานขัวแตะ สมัยนั้นนายกเทศมนตรี คือ หลวงศรีประกาศ แต่เงินไม่พอเพราะค่าก่อสร้างรวม ๓ แสนบาท หลวงศรีประกาศจึงเรี่ยไรรับบริจาคจากชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป ได้อีก ๑ แสนบาท เพียงพอสำหรับค่าก่อสร้าง จึงตั้งชื่อสะพานเป็นอนุสรณ์ต่อความรัก ว่า “สะพานจันทร์สมอนุสรณ์”หลังจากสร้างสะพานแล้ว ชาวบ้านจะเห็นคุณมนตรีฯ เดินเล่นไปมาบนสะพานนี้แทบทุกเย็น
                การทำสะพานจันทร์สมของนายห้างโมตี ถือว่าคุ้มค่า นอกเหนือจากเป็นการระลึกถึงภรรยาและเชิดชูนาม “จันทร์สม”แล้ว ยังเกิดกุศลมหาศาล ได้ประโยชน์กับผู้อื่นโดยแท้จริง และกุศลประโยชน์นี้จะอยู่ไปอีกเป็นร้อยปี น่าเป็นตัวอย่างสำหรับผู้คิดทำความดีลักษณะนี้ ไม่ต่างจากในอดีตที่ พ.ต.ต.เจ้าไชยวรเชษฐ์ (มงคลสวัสดิ์ ณ เชียงใหม่) ที่สร้างโรงเรียนวรเชษฐ์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ในอนาคตมีการพูดคุยกันเรื่องการสร้างสะพานเดินข้ามแม่น้ำปิงที่ด้านหลังโรงเรียนมงฟอร์ตประถม สำหรับนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ต, พระหฤทัย, เรยินา และชัยโรจน์ ที่จะเดินข้ามมาเรียน โดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองนำรถมาส่งที่ถนนเจริญประเทศ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดและปัญหาควันพิษ เชื่อว่าจะเป็นสะพานที่ทรงคุณค่าและมีเรื่องเล่าขานให้ลูกหลานฟังอีกสะพานหนึ่ง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สะพานจันทร์สม สะพานแห่งความรัก : http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=1566.0;wap2
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1600

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

ของดีใกล้บ้านทรงจำ 2 :ก๋วยเตี๋ยวเป็ดตุ๋น วังสิงห์คำ

สำหรับของดีใกล้บ้านทรงจำที่ต่อไป อันนี้ใกล้มากๆครับ เพียงเดินออกซอยบ้านทรงจำไป
ราวๆ 50 เมตร ก็จะพบกับร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ดตุ๋น วังสิงห์คำ (ต้องข้ามถนนก่อนนะครับ)

ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ดเจ้าอร่อยร้านนี้ให้บริการก๋วยเตี๋ยวเป็ดตุ๋น และไก่ตุ๋น นะครับ
ราคาและปริมาณ คุ้มค่าครับ ส่วนของรสชาตินั้นรับรองว่าอร่อยครับ

เนื้อเป็ดและเนื้อไก่ที่ตุ๋นแล้ว นุ่มและเปื่อยกำลังเหมาะ
คือไม่เปื่อยจนเกินไป ยิ่งถ้าได้ทานพร้อมน้ำซุปที่กลมกล่อมแล้ว
ถือเป็นมื้อคุณภาพเลยทีเดียวครับ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ของดีใกล้บ้านทรงจำ 1 :ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ กรุงสุโขทัย

สำหรับแขกที่มาพัก บ้านทรงจำ และยังไม่ทราบว่าช่วงสายๆถึงช่วงเที่ยงๆจะทานอะไรดี
ขอแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ กรุงสุโขทัย


ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนี้เป็นร้านเก่าแก่อยู่ถนนเส้นเจริญราษฎร์ 
เดินจากบ้านทรงจำไปเพียงไม่ไกลก็จะเจอร้านแล้วครับ ร้านจะอยู่ทางขวามือ
อยู่ตรงกันข้ามกับวัดซิกข์พอดีเลยครับ

เป็นร้านขนาดย่อม มีโต๊ะทั้งหมดเพียง 7 โต๊ะเอง 


ส่วนอาหารที่มีก็ตามชื่อครับ หลักๆจะเป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ

สำหรับรสชาติของก๋วยเตี๋ยวนั้น ต้องยอมรับจริงๆว่าปรุงมาได้พอดีๆ
ไม่รสอ่อนหรือรสจัดเกินไป
เพราะสังเกตได้จากพี่ๆนักท่องเที่ยวฝรั่งยังทานได้สบายๆ

ตัวอย่างหน้าตาอาหารร้านนี้
อันนี้ต้มยำเส้นเล็กแห้ง ใส่ไข่นกกะทาครับ

ส่วนนี่ เส้นเล็กกระดูกอ่อนต้มยำ น้ำ 


งานไม้ดอกไม้ประดับ เชียงใหม่ 55


งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 36 ประจำปี 2555 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 – 5 กุมภาพันธ์ 2555 ภายใต้แนวคิดใต้ร่มมหาราชา วัฒนธรรมล้ำค่า บุปผางาม นามนพบุรีศรีนครพิงค์


จังหวัดเชียงใหม่เตรียมจัดงาน “มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ” ครั้งที่ 36 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิดใต้ร่มมหาราชา วัฒนธรรมล้ำค่า บุปผางาม นามนพบุรีศรีนครพิงค์ ระหว่าง 3-5 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด
มีขบวนรถบุปผชาติจากองค์กรต่าง ๆ 22 ขบวน ภายใต้แนวคิดการจัดงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ประจำปี 2555 คือ ใต้ร่มมหาราชา วัฒนธรรมล้ำค่า บุปผางาม นามนพบุรีศรีนครพิงค์ (Nopburi Srinakornping : The City of Splendid Culture and Beautiful Flower Bloom ; The Shadow of The Greatest King.)
ส่วนแนวคิดในพิธีเปิดงานคือ เชียงใหม่ : นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม (Chiangmai : The Most Splendid City of Culture.)
โดยกิจกรรมพิธีเปิด จะมีการแสดงร่วมสมัย ที่มีกลิ่นไอแห่งศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ การแสดงชุดนี้จะสะท้อนให้เห็นถึง ความศักดิ์สิทธิ์แห่งขุนเขาดอยสุเทพ ความงดงาม ความอุดมสมบูรณ์แห่งแม่น้ำปิง และวิถีชีวิตของผู้คน ความเชื่อ
รวมถึงรอยบุญบารมีแห่งเทพเทวดาอารักษ์ที่คอยปกปักรักษา อันเป็นปฐมเหตุแห่งความงดงามของดินแดนแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 3 องก์ ประกอบด้วย องก์ที่ 1 ดอยบุญ ตระหง่านฟ้า งามสง่านครพิงค์ องก์ที่ 2 ไม้ดอกสวย อุดมด้วยแม่ปิง ระมิงค์นครา องก์ที่ 3 ทวยเทพเทวา ปกปักรักษา นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ในส่วนของการประกวดนางงามบุปผชาติ กำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 19.00 น. ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกวดนางงามบุปผชาติ ซึ่งจะเน้นแต่งกายด้วยชุดราตรีสั้นหรือยาว ตกแต่งด้วยดอกไม้ สวยงามหรือสร้างสรรค์
ส่วนการประกวดนางงามบุปผชาตินานาชาติ เน้นแต่งกายด้วยชุดราตรีสั้นหรือยาว ตกแต่งด้วยดอกไม้ สวยงามหรือสร้างสรรค์ สำหรับกิจกรรมเสริมบนเวทจะมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย / สากล ดนตรีไทย ฯลฯ
ภายในงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 36 ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการจัดนิทรรศการและการประกวดไม้ดอกไม้ประดับ อีกด้วย
โดย การจัดนิทรรศการมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดนิทรรศการ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิโครงการหลวง ชมรมชวนชม ชมรมว่านสี่ทิศ และ บริษัท เอ เอ็ม เอ็ม ฟาร์ม
การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ มีการจัดให้มีการประกวดจำนวน 14 ชนิด 234 ประเภท
  • การประกวดกล้วยไม้ 85 ประเภท
  • การประกวดกระบองเพชร 12 ประเภท
  • การประกวดเฟิร์นประดับ 8 ประเภท
  • การประกวดไม้ประดับกระถาง 16 ประเภท
  • การประกวดไม้อวบน้ำ 10 ประเภท
  • การประกวดไม้ดอกกระถาง 10 ประเภท
  • การประกวดบอนสี 10 ประเภท
  • การประกวดชวนชม 16 ประเภท
  • การประกวดโกสน 12 ประเภท
  • การประกวดโป๊ยเซียน 18 ประเภท
  • การประกวดบอนไซ 25 ประเภท
  • การประกวดสับปะรดสี 12 ประเภท
สำหรับการจัดสวนโชว์ หน่วยงานและชมรมร่วมจัดสวนโชว์ จำนวน 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ สวนพฤกษศาสตร์ สมาคมกล้วยไม้ล้านนา ชมรมกระบองเพชร ชมรมเอื้องเวียงพิงค์ ชมรมสับปะรดสี

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

สามล้อถีบ คนถีบสามล้อ

DOGSTAR กับสามล้อถีบในเชียงใหม่




Dogstar กับสามล้อถีบในเชียงใหม่
    พูดถึงอาชีพเก่าแก่อาชีพหนึ่งของเชียงใหม่คือสามล้อถีบค่ะ
ที่บ้านของด็อกสตาร์คุ้นเคยกับพี่ๆที่ขี่สามล้อดี ทัาใมถึงพุดเรื่องสามล้อถีบ
dogstar นึกๆดุแล้วคนเชียงใหม่ คนที่พูดว่ารักเชียงใหม่ไม่มีใครพูดถึงสามล้อถีบ
กันเลยว่าจะอนุรักษ์หรือไม่ ทั้งๆที่การถีบสามล้อเป็นอาชีพเก่าแก่คุ่เมืองเชียงใหม่
น่าน้อยใจแทนพี่ๆสามล้อถีบทั้งหลายจังเลย
    สามล้อถีบแสนจะดีคือ ไม่มีเสียงดังรบกวนชาวบ้านร้านช่อง ไม่มีควันที่ส่ง
กลิ่นเหม็นทําลายสุขภาพหาที่จอดก็แสนจะง่ายไม่เปลืองนั้ามันที่ต้องซื้อหาจาก
เมืองนอก ค่าแรงไม่แพงถีบเนิบๆชมวิวกันไป คนถีบสามล้อก็สุขภาพดีเป็นการ
ออกกําลังไปในตัว(ถ้าไม่เอาเงินค่าจ้างไปลงขวดเหล้าเสียก่อน)อย่างตัวของดิฉัน
เองถ้ามีโอกาสจะใช้สามล้อถีบเสมอค่ะเช่นตอนสิ้นเดือนเวลาเก็บค่าเช่าหอได้
แล้วเอาเงินเข้าธนาคารเสร็จจะต้องมีการไปชําระค่าสาธารณุปโภคต่างๆจะใช้
บริการสามล้อเป็นพาหนะถีบตั้งแต่จ่ายกับข้าว shopping ซื้อต้นไม้ ฯลฯ
จิปาถะจะใช้สามล้อถีบเจ้าประจําทั้งวันเลยอย่างเจ้าประจําของด็อกสตาร์ชื่อว่า
พี่สมัยค่ะ พี่คนนี้เป้นคนสันกําแพงค่ะ พี่สมัยจะฝากรถสามล้อถีบคู่ชีพไว้ที่
บ้านคุณยายแถววัดเกตุตอนเช้าแกจะขับมอเตอร์ไซด์จากบ้านมาแล้วมาเอา
สามล้อไปถีบหาสตางค์โดยมีที่ประจําคือหน้ากาดหลวงกับกาดต้นลําใยค่ะแก
ถีบรถเก่งมากรุ้จักทางลัดซอยเล็กซอยน้อยในเชียงใหม่รุ้จักดีไม่มีหลงเลย
สามล้อคู่ชีพก็อยู่ในสภาพแข็งแรงบํารุงรักษาเป็นอย่างดีแกเคยถีบรถถีบให้
คุณชวน หลีกภัยนั่งสมัยที่เป็นนายกด้วยค่ะ

    Dogstarไม่ได้ว่ารถตุ๊กๆหรือรถสี่ล้อแดงรับจ้างนะคะไม่ได้แอนตี้อะใร
เพราะว่าdogstarใช้บริการรถสี่ล้อแดงเหมือนกันเพียงแต่อยากจะออกความเห็น
ว่าถ้าเราจะอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่ ความเป็นอยุ่เก่าๆที่เราเคยอยุ่กันมาก็ควรจะ
สนับสนุนอาชีพดั่งเดิมด้วยเช่นอาชีพถีบสามล้อรับจ้างเช่นถ้ามีแขกหรือเพื่อนๆ
จากต่างประเทศมาเยี่ยม ดิฉันจะใช้สามล้อถีบนี่ล่ะค่ะพาเพื่อนเที่ยวชมวัดใน
ตัวเมืองถ้าไปใหนไม่ใกลภายในตัวเมืองให้ใช้สามล้อถีบเช่นไปเที่ยววัดเชียงยืน
วัดกู่เต้า วัดเชียงมั่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวงและวัดอีกหลายวัดแถวๆถนนท่าแพ
พอจบทัวร์วัดพาไปเดินช็อปกันเป็นที่สนุกสนานถ้าเป้นวันอาทิตย์จะตบท้ายด้วย
การพาไปนวดที่บริเวณถนนคนเดินและซื้อของกันต่อค่ะถ้าไปใหนไม่ใกลหรือ
ทําธุระภายในตัวเมืองสมัยก่อนที่มีการประกวดนางงามยุคเฟื่องฟู่จะ "มีแม่ญิงก๋างจ้อง
นั่งสามล้อถีบ "แห่เป็นขบวนทั่วเมืองเชียงใหม่ก็มีเสน่ห์ดีค่ะ
    ทําไมพูดถึงสามล้อถีบวันนี้มีเหตุการที่เกิดขึ้นทําให้รู้สึกเสทือนใจเกี่ยวกับ
อาชีพถีบสามล้อรับจ้างเพราะหลังจากทําธุระเสร็จแล้วกําลังจะกลับบ้านค่ะเป็น
ธรรมเนียมของที่บ้านจะดื่มชากันบ่ายสี่โมงเย็นของทุกวัน(เทรดดิชั่นอันนี้คุณสามี
ค่อนขอดเสมอว่าอังกฤษเหลือเกิน คําว่าอังกฤษขึ้นเสียงสูงเชียว)จึงจําเป็นจะต้องมี
ขนมทานกับนํ้าชา dogstarซื้อขนมเหมือนกันเลย 6ชิ้นและบอกกับคนขายว่า 1ชิ้น
แบ่งต่างหากและซื้อนํ้าส้มคั้นเพิ่มหนึ่งขวดแยกถุงต่างหากบอกกับคนขายว่าจะ
ให้ลุงสามล้อ คนขายบอกว่าว่าเขาซื้อขนมให้ลุงสามล้อด้วยสองชิ้นใส่กล่องไว้แล้ว
และชี้ให้ด็อกสตาร์ดูค่ะ เพราะว่าพ่อของหนูเคยถีบสามล้อและเสียไปแล้ว เธอบอก
และบอกต่ออีกว่าทุกครั้งถ้ามีเห็นคนถีบสามล้อและมีโอกาสที่จะช่วยเธอจะทําแบบ
นี้ทุกครั้งสมัยก่อนพ่อของเธอไม่มีโอกาสได้ทานขนมอร่อยๆพอเห็นพี่สมัยเธอบอก
ว่าคิดถึงพ่อของเธอมาก dogstar รู้สึกดีใจและตื้นตันใจที่ยังมีคนแบบนี้ให้ได้พบ
ได้เห็นอยุ่ค่ะ ตอนนี้สามล้อถีบมีไม่มากแล้วและส่วนใหญ่มีอายุมากกันทั้งนั้น
ไม่สามารถเปลี่ยนอาชีพไปทําอย่างอื่นได้อีกแล้วถ้าช่วยกันได้ก้ขอช่วยกันสนับ
สนุนอาชีพเก่าแก่เพื่อว่าจะอยู่กันได้ในยามเศรษฐกิจที่ตกสะเก็ดอย่างรุนแรงด้วยเถิดค่ะ

ขอขอบคุณบทความจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=147994

และสำหรับผู้มาเยือนบ้านทรงจำทุกท่าน หากท่านใดสนใจเที่ยวชมเมืองเชียงใหม่
แบบอนุรักษ์(ทั้งอนุรักษ์สิงแวดล้อม และอนุรักษ์พาหนะแบบโบราณ) ทั้งยังได้ช่วยเหลือ
คนท้องถิ่น(จริงๆ) สามารถติดต่อลุงสมัย คนปั่นสามล้อถีบ ได้เลยนะครับ ราคากันเอง
ต่อรองกันได้เลยครับ